ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร (Laparoscopic Gastric Sleeve)

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร คือการผ่าตัดลดน้ำหนักแบบสมัยใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคอ้วน ซึ่งเทคนิคที่แพทย์ของเราใช้ในการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร คือการผ่าตัดผ่านกล้อง โดยการผ่าตัดนี้จะตัดเอาส่วนที่ผลิตฮอร์โมนความอยากอาหารออกไป 80 % ทำให้กระเพาะอาหารของผู้ป่วยเล็กลง และสามารถทานอาหารได้น้อยลง ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารนี้จะสามารถลดน้ำหนักได้ ประมาณ 50-70% ของน้ำหนักส่วนเกิน

ศูนย์การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารของเราตั้งอยู่ที่ โรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรี เรามีทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญไว้คอยดูแลผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด

 

น้ำหนักที่สามารถคาดหวังว่าจะลดได้จากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

จากการผ่าตัดกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยสามารถคาดหวังว่าจะสามารถลดน้ำหนักได้ประมาณ 50-70% ของน้ำหนักส่วนเกิน ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนนิสัยการทานอาหาร ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยจะสามารถลดได้มากกว่า 60% ของน้ำหนักส่วนเกิน

ก่อนการผ่าตัด ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ประเมิน และให้ความรู้ รวมถึงประเมินน้ำหนักที่สามารถคาดหวังว่าจะลดได้จากการผ่าตัด นอกจากนี้ผู้ป่วยยังจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และอาหารที่ควรรับประทานจากนักโภชนาการอย่างถูกต้อง

เรามีตัวอย่างเกี่ยวกับน้ำหนักและส่วนสูงที่ผู้ป่วยสามารถทำความเข้าใจและศึกษาไว้เป็นตัวอย่างดังนี้ ทั้งนี้ผู้ป่วยควรเข้าใจก่อนว่า ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ในเกณฑ์ปกติ ควรอยู่ระหว่าง 18.5 – 24.9 โดยคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง (คลิกที่นี่เพื่อคำนวณค่า BMI)

ดูตัวอย่างของน้ำหนักและส่วนสูงดังนี้:

  • ตัวอย่างที่ 1 สูง 170 ซม., หนัก 125 กก. ดัชนีมวลกาย (BMI) 43.3 ในตัวอย่างนี้น้ำหนักส่วนเกินคือ 60 กก. ดังนั้นสามารถคำนวณน้ำหนักที่คาดว่าจะลดได้จากการผ่าตัดกระเพาะอาหารประมาณ 30 กก. ขึ้นไป
  • ตัวอย่างที่ 2 สูง 160 ซม., หนัก 100 กก. ดัชนีมวลกาย (BMI) 39.1 ในตัวอย่างนี้น้ำหนักส่วนเกินคือ 43 กก. ดังนั้นสามารถคำนวณน้ำหนักที่คาดว่าจะลดได้จากการผ่าตัดกระเพาะอาหารประมาณ 22 กก. ขึ้นไป
  • ตัวอย่างที่ 3 สูง 180 ซม., หนัก 160 กก. ดัชนีมวลกาย (BMI) 49.4 ในตัวอย่างนี้น้ำหนักส่วนเกินคือ 43 กก. ดังนั้นสามารถคำนวณน้ำหนักที่คาดว่าจะลดได้จากการผ่าตัดกระเพาะอาหารประมาณ 22 กก. ขึ้นไป

*ทั้ง 3 ตัวอย่างข้างต้นนั้นบ่งบอกถึงการลดน้ำหนักที่ผู้ป่วยสามารถคาดหวังว่าจะลดได้ ทั้งนี้การลดน้ำหนักจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับการทานอาหารและออกกำลังกายหลังจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

มิเชลล์ และ เจนนิเฟอร์ ทั้งคู่ได้รับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก หลังจากการผ่าตัด 1 ปี ทั้งสองได้รับการทำศัลยกรรมเพื่อขจัดผิวหย่อนคล้อยจากการลดน้ำหนักเป็นจำนวนมาก

เจนนิเฟอร์อายุ 22 ปี เคยมีน้ำหนักตัวมากสุดถึง 157 กก. และปัจจุบันมีน้ำหนักประมาณ 70 กก. ส่วนมิเชลล์เคยมีน้ำหนักตัวมากสุดถึง 140 กก. และปัจจุบันมีน้ำหนักประมาณ 86 กก.

รูปก่อนและหลังผ่าตัดกระเพาะ

เจนนิเฟอร์ ลดน้ำหนัก 91 กก. 1 ปีหลังจากผ่าตัดกระเพาะอาหาร

รูปก่อนและหลังผ่าตัดกระเพาะ

มิเชล์ ลดน้ำหนัก 54 กก. 1 ปีหลังจากผ่าตัดกระเพาะอาหาร

เกณฑ์หลักสำหรับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ

  • BMI (ดัชนีมวลกาย) เท่ากับหรือมากกว่า 37.5 / หรือ BMI สูงกว่า 34 และมีโรคประจำตัวหรือโรคร่วม  คลิกที่นี่ เพื่อคำนวณ BMI
  • ผู้ที่พยายามลดความน้ำหนักหลายครั้งด้วยวิธีธรรมชาติ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
  • ผู้ป่วยโรคอ้วน ที่ป่วยเป็นโรคนี้ขั้นต่ำ 3-5 ปีลดน้ำ
  • ผู้ที่มีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนการดำเนินชีวิตของตัวเองเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น
  • ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นไปได้จากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

แผลจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารนั้นเป็นเพียงแผลขนาดเล็กบริเวณหน้าท้องจำนวน 5 แผล ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1.5 – 2 ชั่วโมง หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการรักษาและพักฟื้นที่โรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรีเป็นเวลา 5 คืน

ศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารผ่านการส่องกล้อง (Laparoscopic) คือ นพ. ณรงค์ บุญญกาศ และ นพ.อิทธิพล วิรัตนภานุ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร แพทย์ทั้ง 2 ท่านผ่านการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารผู้ป่วยโรคอ้วนมาแล้วมากกว่า 300 ราย

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยที่มีภาวะข้างต้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดกระเพาะอาหารอย่างละเอียด ในบางรายอาจต้องมีการทดสอบความผิดปกติในการนอนหลับ (Sleep test) เพื่อดูว่าผู้ป่วยมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือไม่ หากมีภาวะดังกล่าว แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยใช้เครื่อง CPAP เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด และหลังการผ่าตัด

ต้องทำ Sleep Test เพื่อดูว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือไม่?

จากคำถามด้านล่างนี้ หากคำตอบของคุณคือใช่มากกว่า 3 ข้อขึ้นไป คุณควรปรึกษาแพทย์เรื่องการ sleep test และการใช้เครื่อง CPAP ก่อนการผ่าตัด:

1) คุณกรนเสียงดังหรือไม่?
2) คุณรู้สึกเหนื่อยหรือง่วงนอนในระหว่างวันหรือไม่?
3) มีคนเคยบอกคุณว่า คุณหยุดหายใจระหว่างนอนหลับหรือไม่?
4) คุณมีความดันโลหิตสูงหรือเคยได้รับการรักษาเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงหรือไม่?
5) ดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณมีมากกว่า 35 หรือไม่?
6) คุณอายุ 50 ปีหรือมากกว่า?
7) คุณเป็นเพศชายที่มีขนาดความกว้างที่ลำคอมากกว่า 17 นิ้ว (42.5 ซม.) หรือเป็นเพศหญิงที่มีขนาดความกว้างที่ลำคอมากกว่า 16 นิ้ว (40 ซม.)หรือไม่?
8) คุณเป็นเพศชายหรือไม่?

คุณสามารถดูเครื่อง CPAP ที่แสดงไว้ในรูปตัวอย่างด้านล่างนี้ เครื่อง CPAP จะมีแรงดันเล็กน้อยเพื่อให้มีอากาศเข้าไปได้และเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับออกซิเจนเพียงพอระหว่างการนอนหลับของคุณ

CPAP gastric sleeve

ขั้นตอนการรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดกระเพาะลดขนาดกระเพาะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

เพิ่มเพื่อน

info@destinationbeauty.com

โทร 02 105 4046

ขั้นตอนในการจองคิวผ่าตัดกระเพาะลดขนาดกระเพาะ

ขั้นตอนแรกคือการติดต่อ Destination Beauty, e-mail: info@destinationbeauty.com จากนั้นเจ้าหน้าที่จะปรึกษาเบื้องต้นกับนพ. ณรงค์ แลละ นพ.อิทธิพล ว่าคุณเป็นผู้ที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือไม่ ทางเราจะติดต่อกลับหาคุณพร้อมกับอิเมล์ยืนยันว่าคุณสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ จากนั้นคุณสามารถจองคิวผ่าตัดได้ทันที

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะต้องทำการศึกษาเรื่องการทำ Sleep Test ก่อนที่จะผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบว่าคุณมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือไม่ ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนั้น จะต้องใช้เครื่อง CPAP อย่างน้อย 14 คืนก่อนเข้ารับการผ่าตัด และอีก 14 คืนหลังการผ่าตัด

ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายก่อนการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ และจะได้รับการตรวจสุขภาพส่องกล้องทางช่องท้อง (Gastroscope) เพื่อดูว่าคุณมีเชื้อหรือความผิดปกติในกระเพาะอาหารก่อนการผ่าตัดหรือไม่

ผู้ป่วยจะได้พบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินอาหาร, แพทย์โภชนบำบัด และศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด นพ. ณรงค์ แลละ นพ.อิทธิพล ในลำดับต่อไป

คืนแรกหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องพักฟื้นในห้องพักฟื้นหลังการผ่าตัดเพื่อให้แพทย์ดูอาการให้แน่ใจว่าผู้ป่วยนั้นอยู่ในภาวะปกติและไม่มีอาการผิดปกติใดๆ จากนั้นผู้ป่วยจะถูกย้ายไปพักฟืื้นยังห้องพักฟื้นส่วนตัว ชั้น 11 โรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรี ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถลุกออกจากเตียงได้ 1 วันหลังการผ่าตัด หรือแม้กระทั่งในวันเดียวกัน ศัลยแพทย์และนักโภชนาการของเราจะมาตรวจสุขภาพของผู้ป่วยในห้องพักฟื้นในระหว่างที่พักฟื้นเป็นเวลา 5 คืน

ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังจากพักฟิ้นในโรงพยาบาล และจะได้รับการตรวจสุขภาพอีก 2-3 ครั้งหลังจากการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

หากคุณมีข้อสงสัยหรือคำถาม คุณสามารถติดต่อโรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรี เคาเตอร์เดสทิเนชั่นบิวตี้ได้ที่ 02 438 9000 หรือสามารถเข้ามาพบแพทย์ได้ที่โรงพยาบาลด้วยตนเอง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้:

  • แผลปิดไม่สนิท
  • มีเลือดออก
  • กระเพาะอาหารรั่ว
  • มีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร
  • ภาวะขาดสารอาหาร
  • ผิวหนังหย่อนคล้อยจากการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว

ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างและหลังการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะคือการที่แผลด้านในกระเพาะปิดไม่สนิท (ความเป็นไปได้คือน้อยกว่า 1%)

การที่แผลด้านในกระเพาะปิดไม่สนิทอาจเกิดขึ้นระหว่างหรือหลังการผ่าตัด ในระหว่างการผ่าตัดเเพทย์จะสังเกตเห็นและแก้ไขก่อนที่จะทำการผ่าตัดเสร็จสิ้น –  อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยเริ่มรู้สึกป่วยหรือมีอาการผิดปกติหลังจากการผ่าตัด ควรรีบพบแพทย์ทันที

การที่แผลด้านในกระเพาะปิดไม่สนิทอาจเกิดขึ้นในช่วงเดือนแรกหลังการผ่าตัด สาเหตุหนึ่งอาจมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม หรือไม่รับประทานอาหารตามที่เเพทย์แนะนำหลังจากการผ่าตัดกระเพาะอาหาร หรือจากเนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารของคุณยังไม่หายจากการผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื่อบาง และนำไปสู่การรั่ว หากมีความผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว มีไข้ เจ็บหน้าอก และปวดท้องหรือรู้สึกเจ็บในช่องท้อง ควรรีบแจ้งและพบแพทย์ทันทีที่มีอาการ

 

กระเพาะอาหารจะถูกยืดหรือขยายหลังจากการผ่าตัดได้หรือไม่?

กระเพาะอาหารของผู้ป่วยอาจถูกยืดหรือขยายขออกได้หลังการผ่าตัด หากผู้ป่วยทานอาหารไม่ถูกวิธีหรือไม่ทำตามที่แพทย์แนะนำ หลังการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะนั้น ผู้ป่วยจะสามารถทานอาหารได้ 3 – 4 ช้อน ต่อมื้อ เนื่องจากกระเพาะอาหารจะมีขนาดเล็กลง หากผู้ป่วยทานอาหารมากกว่านั้น อาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดท้องหรืออาเจียน และหากทานอาหารมากเกินกว่าปกติมากๆ จะทำให้กระเพาะอาหารขยายตัว และอาจทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในที่สุด

เรามีเคล็ดลับเพื่อลดความเสี่ยงต่อการยืดขยายของกระเพาะอาหาร

  • ดื่มน้ำ หนึ่งชั่วโมงก่อนและหลังทานอาหาร ทั้งนี้จะช่วยให้ร่างกายของคุณสามารถแยกแยะอาหาร และให้พื้นที่สำหรับของเหลว ในทางกลับกัน อย่าทานอาหารและดื่มน้ำในเวลาเดียวกัน
  • ห้ามดื่มน้ำอัดลม เพราะจะทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป
  • ควรรับประทานอาหารว่างที่มีประโยชน์ถ้าคุณรู้สึกหิวระหว่างมื้ออาหาร
  • วางแผนมื้ออาหารของคุณ เน้นที่ปริมาณน้อย แต่เน้นที่สารอาหาร ควรเลือกทานอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารที่จะช่วยให้อิ่มนานขึ้น และให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น โปรตีน
  • ถ้าคุณทานอาหารมากเกินไป หรือทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์  ควรจะกลับมาทานอาหารที่มีประโยชน์ตามแพทย์แนะนำโดยเร็วที่สุด

ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และความรู้สึก

เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยต้องรู้ว่าภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์นั้นเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารทันที น้ำหนักตัวของผู้ป่วยจะลดลงอย่างรวดเร็ว การที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วนั้นจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวน ผลจากการเกิดอารมณ์แปรปรวนจะทำให้ ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย เบื่อและอารมณ์ไม่ดี แต่อาการเหล่านี้จะหายไป และภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และความรู้สึกนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน

การดูแลรักษาตัวหลังการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ

หลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารนั้น ผู้ป่วยต้องดูแลรักษาตัวเองตามที่แพทย์แนะนำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลังจากทำการตัดกระเพาะอาหารออกไปแล้วจะไม่สามารถแก้ไขการผ่าตัดได้

การทานอาหารหลังการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ

เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการเลือกทานอาหาร ควรเลิกนิสัยการทานอาหารแบบเก่าไป เพื่อให้การลดน้ำหนักได้ผลที่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน, ผัก งดน้ำตาลและแป้ง และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายหลังการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ

ผู้ป่วยควรออกกำลังกายเป็นเวลา 5 ถึง 7 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 30 นาที ผู้ป่วยสามารถรออกกำลังกายได้โดย การเดิน วิ่งจ็อกกิ้ง ว่ายน้ำ ฯลฯ เพื่อทำให้ร่างกายมีความเคลื่อนไหวและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และช่วยให้ผู้ป่วยเผาผลาญแคลอรี่ และทำให้ลดน้ำหนักได้เร็วและมากขึ้นอีกด้วย

ด้านอารมณ์

ผู้ป่วยควรมีทัศนคติเชิงบวก 100% สำหรับผู้ป่วยที่เสพติดการทานอาหารมากๆ อาจมีภาวะซึมเศร้าเวลาอยากอาหาร ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ หากมีภาวะซึมเศร้าหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจหากิจกรรมทำ เช่น การออกกำลังกาย วางแผนการทานอาหาร ทานอาหารที่มีประโยชน์ และเชื่อมั่นในตนเอง ว่าจะสามารถลดน้ำหนักได้ และเพื่อให้มีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

 

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารโรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรีกับ นพ.ณรงค์ บุญญกาศ

 

 

 

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

เพิ่มเพื่อน

info@destinationbeauty.com

โทร 02 105 4046

คลิกที่นี่เพื่อกรอกแบบฟอร์มเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์